_9.png)
คณะสถาปัตย์ จุฬาฯ ร่วมมือ บีแอลซีพี พัฒนา “อิฐลดอุณหภูมิ” จากเถ้าหนัก สู่การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด เพื่อพัฒนา “อิฐลดอุณหภูมิ” นวัตกรรมวัสดุก่อสร้างจากเถ้าหนัก ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตไฟฟ้า มุ่งเน้นการลดของเสีย เปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมี ผศ.สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคุณยุทธนา เจริญวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด เป็นผู้แทนลงนาม โดยมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่จากทั้งสองหน่วยงานร่วมพิธี
อิฐลดอุณหภูมิที่พัฒนาขึ้นนี้มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยลดความร้อนภายในอาคาร ลดการใช้พลังงาน และสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยทีมวิจัย (นำโดย ผศ.ดร.ลาภยศ ประสิทธิโศภิน ผู้ช่วยคณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์) ได้พัฒนาสูตรส่วนผสม ออกแบบแม่พิมพ์ และทดสอบคุณสมบัติจนได้ต้นแบบอิฐที่ได้มาตรฐาน พร้อมยื่นจดสิทธิบัตร
ความร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมวัสดุก่อสร้างที่ตอบโจทย์ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยมีแผนผลักดันเข้าสู่กระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์ในอนาคต เพื่อนำไปใช้งานในโครงการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป
อิฐลดอุณหภูมิที่พัฒนาขึ้นนี้มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยลดความร้อนภายในอาคาร ลดการใช้พลังงาน และสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยทีมวิจัย (นำโดย ผศ.ดร.ลาภยศ ประสิทธิโศภิน ผู้ช่วยคณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์) ได้พัฒนาสูตรส่วนผสม ออกแบบแม่พิมพ์ และทดสอบคุณสมบัติจนได้ต้นแบบอิฐที่ได้มาตรฐาน พร้อมยื่นจดสิทธิบัตร
ความร่วมมือครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมวัสดุก่อสร้างที่ตอบโจทย์ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยมีแผนผลักดันเข้าสู่กระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์ในอนาคต เพื่อนำไปใช้งานในโครงการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป
ArchChula #ArchandDesignforSociety #archcu